ไตรลักษณ์

| สังคมศาสตร์ | ศาสนา | 3453
ไตรลักษณ์

ไตรลักษณ์นี้ ในอรรถกถาบางทีเรียกว่า “สามัญลักษณะ” ใยฐานะเป็นลักษณะร่วม ที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวง เพื่อความเข้าใจง่ายๆ ให้ความหมายของไตรลักษณ์ (the Three Characteristics of Existence) โดยย่อดังนี้
๑. อนิจจตา (Impermanence) ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความไม่คงตัว ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป
๒. ทุกขตา (Conflict) ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดและสลายไป ภาวะที่กดดันฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว 
๓. อนันนตา (Soullessness หรือ Non-Self) ความเป็นอนันตา ความเป็นไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนแท้จริงที่จะสั่งบังคับให้เป็นอย่างไรๆได้

ก. คุณค่าทางจริยธรรม
๑. หลักอนิจจตา
แสดงความไม่เที่ยง ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปของสิ่งทั้งหลาย จนถึงส่วนย่อยที่ละเอียดที่สุด ทั้งฝ่ายรูปธรรม และนามธรรมความไม่เที่ยงของส่วนย่อยต่างๆ เมื่อปรากฏเป็นผลรวมออกมาแก่ส่วนใหญ่ที่มนุษย์พอสังเกตเห็นได้ ก็เรียกกันว่าความเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจหรือรู้สึกเหมือนกับว่าสิ่งต่างๆ เหล่านั้นมีตัวมีตนของมัน ซึ่งเดิมมีสภาพเป็นอย่างหนึ่ง และบัดนั้นเองได้เปลี่ยนแปลงแปรรูปไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง
ในทางจริยธรรม หลักอนิจจตาอาจใช้ให้เป็นประโยชน์ได้เป็นอันมาก โดยเฉพาะที่เป็นหลักใหญ่ ๒ ประการ คือ
๑. มีชีวิตซึ่งเป็นอยู่ด้วยปัญญา ที่ด้านนอกไม่ประมาท เร่งขวนขวายทำการปรับปรุงแก้ไขด้วยความรู้ที่ตรงต่อเหตุปัจจัย
๒. มีชีวิตซึ่งเป็นอยู่ด้วยปัญญา ที่ด้านในจิตใจอิสระ เป็นสุขผ่องใสปล่อยวางได้ด้วยความรู้เท่าทันเหตุปัจจัย

๒. หลักทุกขตา
ในหลักทุกขตา มีเกณฑ์สำคัญสำหรับกำหนดคุณค่าทางจริยธรรมอยู่ ๒ อย่างคือ 
๑. ทุกข์ที่เป็นธรรมดาของสังขาร ต้องรู้ทันไม่ยึดฉวยเอามาใส่ตัวให้เป็นทุกข์ของเรา แต่เป็นภาระที่ต้องจัดการด้วยปัญญาที่รู้เหตุปัจจัย
๒. หลักอริยสัจบอกหน้าที่กำกับไว้ว่า ทุกข์สำหรับปัญญารู้ทันและทำให้ไม่เกิดไม่มี แต่สุขที่คนมุ่งหมายต้องทำให้กลายเป็นชีวิตของเรา
๒. หลักอนัตตตา

ความรู้ที่หยั่งถึงอนัตตตา มีคุณค่าที่สำคัญในทางจริยธรรม คือ 
๑. ในขั้นต้น ทางด้านตัณหา ช่วยลดทอนความแห็นแก่ตน มิให้ทำการต่างๆ โดยยึดถือแต่ประโยชน์ตนเป็นประมาณ ทำให้มองเห็นประโยชน์ในวงกว้าง ที่ไม่มีตัวตนมาเป็นเครื่องกีดกั้นจำกัด
๒. ในขั้นกลาง ทางด้านทิฏฐิ ทำให้จิตใจกว้างขวางขึ้น สามารถเข้าไปเกี่ยวข้อง พิจารณา และจัดการแก้ปัญหาและเรื่องราวต่างๆ โดยไม่เอาตัวตน ความอยากของตน ตลอดจนความเห็น ความยึดมั่นถือมั่นของถือเข้าไปขัด แต่พิจาราณาจัดการไปตามธรรม ตามตัวเหตุตัวผล ตามที่มันเป็นของมันหรือควรจะเป็นแท้
๓. ในขั้นสูง การรู้หลักอนัตตตา ก็คือ การรู้สิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นอย่างแท้จริง คือรู้หลักความจริงของธรรมชาติถึงที่สุด
๔. กล่าวโดยทั่วไป หลักอนัตตตา พร้อมทั้งหลักอนิจจตา และหลักทุกขาตาเป็นเครื่องยืนยันความถูกต้องแท้จริง ของหลักจริยธรรมอื่นๆ โดยเฉพาะหลักกรรม และหลักการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น
comments




เว็บเพื่อนบ้าน
DoesystemDevcodeMathMySelfHowToClicksBlogJavaExample